Thursday, April 26, 2012

สสจ.ตรัง จัดกิจกรรม พอ.สว.ตรัง ร่วมรำลึก และสดุดีสมเด็จย่า ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

นายแพทย์วิฑูรย์ เหลืองดิลก นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดตรัง กล่าวว่า วันที่ 21 ตุลาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้วันที่ 21 ตุลาคมของทุกปีเป็นวัน “ทันตสาธารณสุขแห่งชาติ” ในปี พ.ศ.2532 และปี 2533 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้วันที่ 21 ตุลาคมของทุกปีเป็น “วันพยาบาลแห่งชาติ” และเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2543 องค์การวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก ได้เฉลิมพระเกียรติยกย่องให้สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเป็น “บุคคลสำคัญของโลก” ประชาชนชาวไทยทุกหมู่เหล่าต่างน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จย่าตลอดมา ดังนี้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง และสมาชิก พอ.สว.ตลอดหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนได้ร่วมจัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี โดยได้กำหนดจัดโครงการ “พอ.สว.ตรังร่วมรำลึก และสดุดีสมเด็จย่า” ตุลาคม 2554 ในวันที่ 21 ตุลาคม 2554 เวลา 09.00 น. ณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีตรัง โดยมี นายไมตรี อินทุสุต ผู้ว่าราชการจังหวัดตรังเป็นประธานในพิธีเปิดงาน นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมมากมาย อาทิ การแสดงของผู้สูงอายุ
Related posts:
เหล่ากาชาด จ.ตรังมอบบ้านกาชาดเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา
เหล่ากาชาด จ.ตรังมอบบ้านกาชาดเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา
สสจ.ตรัง จัดกิจกรรม พอ.สว.ตรัง ร่วมรำลึก และสดุดีสมเด็จย่า ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
เหล่ากาชาด จ.ตรังมอบบ้านกาชาดเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา
เหล่ากาชาด จ.ตรังมอบบ้านกาชาดเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา
ชาวบ้านหนองช้างแล่น จ.ตรัง บุกประท้วงหน้าศาลากลาง ร้องผู้ว่าฯ สั่งปิดโรงงานไม้ยางพาราก่อมลพิษ
ผู้ว่าฯ ตรัง และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ตรวจสอบหลังเกิดน้ำไหลหลากตัดผ่านถนน
จ.ตรัง จัดโครงการฝึกอบรมหลักสูตรวินัยเบื้องต้นสำหรับพนักงานส่วนท้องถิ่น
สสจ.ตรัง จัดโครงการยิ้มสดใส เด็กไทยฟันดี โดยให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีการฝึกปฎิบัติการโปรแกรม Sealantogram
จ.ตรัง มอบเงินรางวัลและเกียรติบัตรโครงการถ่ายภาพศิลปวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์
จนท.กรมทรัพยากรธรณีแจงแผ่นดินไหว จ.ตรัง
ผวจ.ตรัง มอบเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยและวาตภัยกว่า 2 ล้านบาท
กลุ่มแม่บ้านทอผ้านาหมื่นศรี จ.ตรัง เร่งทอผ้าสีสันต่างๆ รับงานเทศกาลผ้าไทยและงานวันแม่แห่งชาติ
จ.ตรัง ดึง อสม.ร่วมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง
ผู้ว่าฯ ตรัง ลงพื้นที่อำเภอนาโยง ตรวจเยี่ยมชาวบ้านและร่วมทำกิจกรรมการดำเนินงานเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำ
ผู้ว่าฯตรัง เป็นประธานติดตั้งทุ่นแนวเขตแหล่งทรัพยากรทะเล บริเวณรอบเกาะลิบง อำเภอกันตัง จ.ตรัง
ททท.ตรัง ผลักดัน จ.ตรัง-สตูล เป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ในตลาด เผยจุดเด่น อุดมสมบูรณ์-วิถีชีวิตท้องถิ่น-ค่าใช้จ่ายไม่สูง
จ.ตรัง เปิดการประชุมสัมมนาทางวิชาการยางพาราปาล์มน้ำมัน
อ.กันตัง จ.ตรัง เรียกประชุมชาวบ้าน รับฟังแนวการสร้างอาชีพทดแทนอาชีพประมงโพงพางผิดกฎหมาย เพื่ออนุรักษ์ พะยูน โลมา เต่าในท้องทะเลตรัง
อ.กันตัง จ.ตรัง เรียกประชุมชาวบ้าน รับฟังแนวการสร้างอาชีพทดแทนอาชีพประมงโพงพางผิดกฎหมาย เพื่ออนุรักษ์ พะยูน โลมา เต่าในท้องทะเลตรัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอ และหน่วยงานสร้างอาชีพ เรียกประชุมชาวบ้านใน 3 ตำบลของอำเภอกันตังกว่า 200 คน เข้ารับฟัง แนวทางสร้างอาชีพตามความถนัด ทดแทนอาชีพประมงโพงพางเดิมที่ผิดกฎหมาย เพื่อลดการสูญเสียสัตว์น้ำหายากในทะเล เช่น พะยูน โลมา เต่า คาดใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 ปีในการแก้ปัญหา ที่ห้องประชุมเทศบาลเมืองกันตัง จังหวัดตรัง ชาวบ้านในตำบลวังวน, ตำบลนาเกลือ, ตำบลกันตังใต้ อำเภอกันตัง กว่า 200 คน ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ทางอำเภอกันตังได้สำรวจแล้วว่า มีการทำประมงโพงพางในพื้นที่มานานหลายสิบปี เข้าร่วมการประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาการทำประมงโพงพางผิดกฎหมาย โดยเปลี่ยนมาประกอบอาชีพอื่นตามความถนัด เนื่องจากเมื่อวันที่ 31 มีนาคม ที่ผ่านมา นายไมตรี อินทุสุต ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ได้ออกประกาศจังหวัด มาตรการห้ามใช้เครื่องมือโพงพางทำการประมง รวมถึงรั้วไซมาน หรือกั้นซู่โดยเด็ดขาด เพื่อเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ อาทิ พระยูน โลมา เต่าทะเล และลดสิ่งกีดขวางการสัญจรทางน้ำ รวมทั้งแก้ปัญหาร่องน้ำทางเดินเรือตื้นเขิน โดยออกคำสั่งให้รื้อถอนเครื่องมือดังกล่าวภายใน 15 วัน หลังจากวันประกาศเป็นต้นไป ทั้งนี้ ทางอำเภอกันตังเห็นว่า หากดำเนินการตามกฎหมายเพียงอย่างเดียว จะกระทบต่อวิถีชีวิตและการทำมาหากินของราษฎร อาจเกิดกระแสการต่อต้านที่ลุกลามบานปลายได้ เนื่องจากปัจจุบัน ยังมีจำนวนชาวประมงทำโพงพางอยู่ในอำเภอกันตังที่แจ้งเป็นตัวเลขแก่ทางราชการ 162 ราย โดยมีประมาณ 900 ช่องโพงพาง ดังนั้น นายสุวิทย์ สุบงกช รองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง พร้อมด้วยประมงจังหวัด เกษตรจังหวัด ปศุสัตว์จังหวัด แรงงานจังหวัด ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด การศึกษานอกระบบและอัธยาศรัยนอกระบบจังหวัด และวิทยาลัยการอาชีพ ได้จัดการประชุมขึ้น เพื่อนำเสนอช่องทางประกอบอาชีพด้านต่างๆ และแหล่งเงินทุน งบประมาณ เพื่อปรับเปลี่ยนอาชีพการทำประโมงโพงพางที่ผิดกฎหมาย มาเป็นอาชีพทดแทน ทั้งนี้ ชาวบ้านส่วนใหญ่ ยินยอมให้รื้อถอนโพงพาง และเปลี่ยนทำอาชีพอื่น หากมีช่องทางอาชีพอื่น ที่มีรายได้ใกล้เคียงกับอาชีพเดิม ซึ่งมีรายได้เดือนละประมาณ 5-6 พันบาทต่อเดือน แต่ขอเวลาในการเรียนรู้อาชีพ เพื่อเป็นหลักประกันในอนาคต ซึ่งหลังจากนี้ ชาวบ้านจะต้องรวมตัวยื่นหนังสือถึงอธิบดีกรมประมง เพื่อขอให้ชะลอการรื้อถอนและจับเครื่องมือประมงโพงพางผิดกฎหมายออกไปก่อน ประมงกันตัง คาดว่า อาจต้องใช้เวลาถึง 3 ปีในการแก้ไขปัญหาเครื่องมือประมงผิดกฎหมาย แต่มั่นใจว่านโยบายดังกล่าว จะทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำต่างๆ ของจังหวัดตรัง มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจนแน่นอน. ข้อมูลข่าวและที่มา ผู้สื่อข่าว : ตรัง(สวท.) Rewriter : สุริยน ตันตราจิณ สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ : http://thainews.prd.go.th วันที่ข่าว : 27 เมษายน 2554
 See More..

บทความที่ได้รับความนิยม