Thursday, April 5, 2012

ผู้ว่าฯ ตรัง เปิดจวนรับบริจาค ในกิจกรรม “ชาวตรังรวมใจ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม”

ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เปิดจวน จัดกิจกรรม “ชาวตรังรวมใจ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม” เพื่อรับบริจาคเงินและสิ่งของจากพี่น้องชาวจังหวัดตรัง นำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ภาคกลางและกรุงเทพมหานคร ด้าน สวท.ตรัง ระดมทีม ปักหลักออกอากาศสดบรรยากาศการรับบริจาค วันนี้ (2 พฤศจิกายน 2554) เวลา 9.00 น. ที่บริเวณบ้านพักผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง นายไมตรี อินทุสุต ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ได้รับมอบสิ่งของบริจาคและเงินสด จากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พร้อมประชาชนชาวจังหวัดตรัง ในกิจกรรม “ชาวตรังรวมใจ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม” ทั้งนี้ จังหวัดตรัง ร่วมกับส่วนราชการ ภาคเอกชนทุกภาคส่วน และประชาชนชาวจังหวัดตรังจัดขึ้น เพื่อเปิดรับบริจาคเงิน และสิ่งของ เช่น อาหารแห้ง อาหารสด เครื่องอุปโภคบริโภคต่างๆ นำไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ในพื้นที่ภาคกลางและกรุงเทพมหานคร ซึ่งบรรยากาศตลอดทั้งวัน มีผู้ประสงค์บริจาคทยอยเดินทางเข้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง รับมอบเงินและสิ่งของบริจาคด้วยตนเอง โดยยอดเงินและสิ่งของบริจาค เมื่อเวลา 12.00 น. รวมมูลค่าประมาณ 3 ล้าน 1 แสน
Related posts:
ผู้บังคับการตำรวจภูธร จ.ตรัง โอนเงินบริจาคชาวตรังเกือบ 4 แสนบาท เข้าบัญชีสำนักนายกฯ เพื่อช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม
สวท.ตรัง จัดประชุมสรุปยอดเงินบริจาคช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม ล่าสุดเกือบ 4 แสนบาท
ผู้ว่าฯ ตรัง ห่วงใยเยาวชน ประสานสถานศึกษาร่วมป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างจริงจัง และพยายามนำผู้เสพเข้ารับการบำบัดทุกคน
สวท.ตรัง จัดประชุมสรุปยอดเงินบริจาคช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม ล่าสุดเกือบ 4 แสนบาท
จังหวัดตรัง หน่วยงานต่างๆ เฝ้าระวังและเตรียมพร้อมป้องกัน หากเกิดน้ำท่วม
จังหวัดตรัง หน่วยงานต่างๆ เฝ้าระวังและเตรียมพร้อมป้องกัน หากเกิดน้ำท่วม
สวท.ตรัง ระดมหลายภาคส่วนร่วมประชุม เตรียมเปิดรับบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม
กกท.ตรังมอบเงินรางวัลนักกีฬา
ชาวบ้านหนองช้างแล่น จ.ตรัง บุกประท้วงหน้าศาลากลาง ร้องผู้ว่าฯ สั่งปิดโรงงานไม้ยางพาราก่อมลพิษ
ผู้ว่าฯ ตรัง และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ตรวจสอบหลังเกิดน้ำไหลหลากตัดผ่านถนน
ตรังจัดประชุมรับฟังการอภิปรายแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนจังหวัดตรัง
สวท. ตรัง จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 7 รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จ.ตรัง ดึง อสม.ร่วมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง
ตรังหาทางออกพื้นที่อนุรักษ์หอยตลับ หลังชาวบ้านขอยกเลิกบางส่วน อ้างกระทบต่อแหล่งทำมาหากิน
ผู้ว่าฯ ตรัง ลงพื้นที่อำเภอนาโยง ตรวจเยี่ยมชาวบ้านและร่วมทำกิจกรรมการดำเนินงานเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำ
ผู้ว่าฯตรัง เป็นประธานติดตั้งทุ่นแนวเขตแหล่งทรัพยากรทะเล บริเวณรอบเกาะลิบง อำเภอกันตัง จ.ตรัง
จ.ตรัง เตือนประชาชนระวังฝนตกหนักระหว่างวันที่ 6-11 พฤษภาคมนี้ สั่งการเจ้าหน้าที่เตรียมการป้องกันภัย
อ.กันตัง จ.ตรัง เรียกประชุมชาวบ้าน รับฟังแนวการสร้างอาชีพทดแทนอาชีพประมงโพงพางผิดกฎหมาย เพื่ออนุรักษ์ พะยูน โลมา เต่าในท้องทะเลตรัง
อ.กันตัง จ.ตรัง เรียกประชุมชาวบ้าน รับฟังแนวการสร้างอาชีพทดแทนอาชีพประมงโพงพางผิดกฎหมาย เพื่ออนุรักษ์ พะยูน โลมา เต่าในท้องทะเลตรัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอ และหน่วยงานสร้างอาชีพ เรียกประชุมชาวบ้านใน 3 ตำบลของอำเภอกันตังกว่า 200 คน เข้ารับฟัง แนวทางสร้างอาชีพตามความถนัด ทดแทนอาชีพประมงโพงพางเดิมที่ผิดกฎหมาย เพื่อลดการสูญเสียสัตว์น้ำหายากในทะเล เช่น พะยูน โลมา เต่า คาดใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 ปีในการแก้ปัญหา ที่ห้องประชุมเทศบาลเมืองกันตัง จังหวัดตรัง ชาวบ้านในตำบลวังวน, ตำบลนาเกลือ, ตำบลกันตังใต้ อำเภอกันตัง กว่า 200 คน ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ทางอำเภอกันตังได้สำรวจแล้วว่า มีการทำประมงโพงพางในพื้นที่มานานหลายสิบปี เข้าร่วมการประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาการทำประมงโพงพางผิดกฎหมาย โดยเปลี่ยนมาประกอบอาชีพอื่นตามความถนัด เนื่องจากเมื่อวันที่ 31 มีนาคม ที่ผ่านมา นายไมตรี อินทุสุต ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ได้ออกประกาศจังหวัด มาตรการห้ามใช้เครื่องมือโพงพางทำการประมง รวมถึงรั้วไซมาน หรือกั้นซู่โดยเด็ดขาด เพื่อเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ อาทิ พระยูน โลมา เต่าทะเล และลดสิ่งกีดขวางการสัญจรทางน้ำ รวมทั้งแก้ปัญหาร่องน้ำทางเดินเรือตื้นเขิน โดยออกคำสั่งให้รื้อถอนเครื่องมือดังกล่าวภายใน 15 วัน หลังจากวันประกาศเป็นต้นไป ทั้งนี้ ทางอำเภอกันตังเห็นว่า หากดำเนินการตามกฎหมายเพียงอย่างเดียว จะกระทบต่อวิถีชีวิตและการทำมาหากินของราษฎร อาจเกิดกระแสการต่อต้านที่ลุกลามบานปลายได้ เนื่องจากปัจจุบัน ยังมีจำนวนชาวประมงทำโพงพางอยู่ในอำเภอกันตังที่แจ้งเป็นตัวเลขแก่ทางราชการ 162 ราย โดยมีประมาณ 900 ช่องโพงพาง ดังนั้น นายสุวิทย์ สุบงกช รองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง พร้อมด้วยประมงจังหวัด เกษตรจังหวัด ปศุสัตว์จังหวัด แรงงานจังหวัด ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด การศึกษานอกระบบและอัธยาศรัยนอกระบบจังหวัด และวิทยาลัยการอาชีพ ได้จัดการประชุมขึ้น เพื่อนำเสนอช่องทางประกอบอาชีพด้านต่างๆ และแหล่งเงินทุน งบประมาณ เพื่อปรับเปลี่ยนอาชีพการทำประโมงโพงพางที่ผิดกฎหมาย มาเป็นอาชีพทดแทน ทั้งนี้ ชาวบ้านส่วนใหญ่ ยินยอมให้รื้อถอนโพงพาง และเปลี่ยนทำอาชีพอื่น หากมีช่องทางอาชีพอื่น ที่มีรายได้ใกล้เคียงกับอาชีพเดิม ซึ่งมีรายได้เดือนละประมาณ 5-6 พันบาทต่อเดือน แต่ขอเวลาในการเรียนรู้อาชีพ เพื่อเป็นหลักประกันในอนาคต ซึ่งหลังจากนี้ ชาวบ้านจะต้องรวมตัวยื่นหนังสือถึงอธิบดีกรมประมง เพื่อขอให้ชะลอการรื้อถอนและจับเครื่องมือประมงโพงพางผิดกฎหมายออกไปก่อน ประมงกันตัง คาดว่า อาจต้องใช้เวลาถึง 3 ปีในการแก้ไขปัญหาเครื่องมือประมงผิดกฎหมาย แต่มั่นใจว่านโยบายดังกล่าว จะทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำต่างๆ ของจังหวัดตรัง มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจนแน่นอน. ข้อมูลข่าวและที่มา ผู้สื่อข่าว : ตรัง(สวท.) Rewriter : สุริยน ตันตราจิณ สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ : http://thainews.prd.go.th วันที่ข่าว : 27 เมษายน 2554
ผู้ว่าฯ ตรัง เรียกประชุมติดตามผลการเตรียมงาน โครงการขุดลอกคลองน้ำเจ็ดถึงคลองนางน้อย
 See More..

บทความที่ได้รับความนิยม