Monday, January 9, 2012

รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตรแนะเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง

รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตรแนะเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังให้แช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีก่อน นำไปปลูกเพราะจะช่วยป้องกันเพลี้ยแป้งและโรคระบาดอื่นๆได้ รวมทั้งให้ปล่อยแตนเบียนหลังการปลูก 45 วัน เพื่อกำจัดเพลี้ยแป้งสีชมพู โดยขอรับการสนับสนุนแตนเบียนได้ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรทุกจังหวัด นายดำรง จิระสุทัศน์ รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้แนะนำเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง เพื่อให้ได้ผลผลิตต่อไร่สูงสุดภายหลัง เป็นประธานเปิดงานการณรงค์ปล่อยแตนเบียนเพื่อควบคุมเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู ซึ่งกรมวิชาการเกษตรจัดขึ้นที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาฬสินธุ์ อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2554 เพื่อให้เกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องตระหนักถึงผลกระทบจากการ เข้าทำลายของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู และเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านพันธุ์ ด้านการผลิตมันสำปะหลัง การเลี้ยงขยายพันธุ์แตนเบียนเพลี้ยแป้งสีชมพู และการควบคุมเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูว่า เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ที่ต้องการผลผลิตต่อไร่สูงมากกว่า 3 ตัน นอกจากเกษตรกรจะเลือกพันธุ์ที่เหมาะสม เลือกพื้นที่ปลูกที่เหมาะสมกับพันธุ์ เลือกช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสมแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดที่เกษตรกรควรจะปฏิบัติก็คือ การแช่ท่อนพันธุ์ในสารเคมีก่อนนำไปปลูกเพราะจะช่วยป้องกันเพลี้ยแป้งและโรคระบาดอื่นๆ ของมันสำปะหลังได้นาน 45 วัน และหลังจากนั้นก็ให้เกษตรกรปล่อยแตนเบียน ในไร่มันสำปะหลังเพื่อควบคุมเพลี้ยแป้งสีชมพู รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวด้วยว่า ในวันนี้กรมวิชาการเกษตรได้รณรงค์ปล่อย แตนเบียนพร้อมกันทุกจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง เนื่องจากเป็นช่วงที่เพลี้ยแป้งสีชมพูระบาด และหลังการปล่อยจะมีการติดตามประเมินผลในทุก 15 วัน ถ้ายังพบว่ามีการระบาดของเพลี้ยแป้งอยู่และจำเป็นต้องปล่อยเพิ่มก็ต้องปล่อย ตามความเหมาะเนื่องจากกรมวิชาการเกษตรได้เลี้ยงแตนเบียนไว้ตลอดเวลา หากเกษตรกรพบการระบาด ก็สามารถขอรับการสนับสนุนแตนเบียนได้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาฬสินธุ์ อำเภอยางตลาด [...]
No related posts.  See More..

บทความที่ได้รับความนิยม